วันจันทร์ที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557



บทที่ 8 อุปกรณ์ต่อพ่วง

8.1  บทนำ
             อุปกรณ์ต่อพ่วง คือ อุปกรณ์ที่ทำให้คอมพิวเตอร์มีประสิทธฺภาพในการทำงานมากขึ้น ปัจจุบันอุปกรณ์ต่อพ่วงพัฒนาล้ำหน้าไปมาก


8.2 กล้องดิจิตอล







รูปที่ 1 แสดงภาพกล้องดิจิตอล
แสดงภาพดิจิตอล

             แต่เดิมนั้นกล้องที่ใช้ทั้วไปจะเป็นกล้องแบบใช้ฟิล์ม ขนาด 3.5 มม. หรือที่เรียนกันว่า กล้อง 35  มม. แต่ขณะนี้ มีนวัตกรรมทางการถ่ายภาพที่ล้ำหน้าไปไกล การเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นโดยที่เปลี่ยนการใช่ฟิล์มแบบธรรมดามาเป็นการใช้ฟิล์มแบบดิจิตอล ซึ่งกล้องแบบนี้มีชื่อเรียกกันว่า ""กล้องดิจิตอล" (Digital Camera)

           การทำงานของกล้องดิจิตอล มีการทำงานคล้ายกับกล้อง 35 มม. คือ ใช้หลักการสะท้อนและตกกระทบของแสดงลงบนแผ่นฟิล์ม แต่ในกล้องจิติตอลนั้น ฟิล์ม แต่ในกล้องดิจิตอลนั้น ฟิล์มรับภาพจะทำการประมวลผลออกมาเป็นจุดสีจุดเล็ก ๆ เรียกว่าพิกเซล (Pixel) เมื่อนำจุดมารวมกันก็จะเกิดเป็นภาพขึ้นมา เรียกว่า "ภาพดิจิตอล" ซึ่งจุดนั้นจะถูกส่งไปเก็บอยู่ในหน่วยความจำกล้อง
          ความพิเศษที่ทำให้กล้องดิจิตอลต่างจากกล้องฟิล์ม คือ ผู้ถ่ายสามารถดูภาพถ่ายได้ทันทีผ่านทางหน้าจอ LCD ซึ่งจะเพิ่มความรวดเร็ว และผู้ถ่ายสามารถได้ทดสอบฝีมือตนเองได้ เพราะภาพถ่ายออกมาหากไม่ต้องการก็สามารถลบทิ้งได้ทันที่ นอกจากนี้ยังสามารถนำภาพที่ถ่ายมาไปใช้งานบนคอมพิวเตอร์ได้ง่ายกล้องดิจิตอล

8.3 หน่วยความจำของกล้องดิจิตอล


           อุปกรณ์สำหรับเก็บบันทึกข้อมูลเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับุปกรณ์ดิจิตอลยุคใหม่ ไม่้พียงแต้กล้องดิจิตอลเท่านั้น เครื่องเล่น/ บันทึกดีวีดี เครื่องเล่นเพลง MP3 พีดีเอ โทรศัพท์มือถือ ฯลฯ อุปกรณ์เหล่านั้นนี้ล้วนแต่มีพัฒนาการในการในการบันทึกข้อมูลภายในตัวเองมากขึ้นตามระยะเวลา ในช่วงระยเวลาไม่ถึง 5 ปี มีหน่วยความจำหลาย ๆ ชนิดถูกผลิขึ้นมา หน่วยจำเหล่านี้โครงสร้างพื้นฐานนั้นทำมาจากหน่วยความจำที่ใช้ในเครื่องคอมพิวเตอร์ ซึ่งมีอยู่สองประเภทคือ Hard Drive และ RAM หน่วยความจำ RAM เรียกอีกอย่างว่า Flash Memory หรือเป็นหน่วยความจำแบบ Solid State เนื่องจากหน่วยความจำแบบนี้ขจะมีชิ้นส่วนสำคัญคือใช้เซมิคอนดักเตอร์ไม่มีชิ้นส่วนที่เคลื่อนที่ได้


            หน่วยความจำแบบ Solid State จะใช้ชิบ EEPROM เป็นชิ้นส่วนภายใน ซึ่งชิปประเภทนี้สามารถบันทึกข้อมุลลงไปได้หรือลบทิ้ง แล้วก็บันทึกซ้ำได้อีกกี่ครั้งก้ได้ และตัวชิป EEROM ยังเก็บรักษาข้อมูลเอาไว้ได้โดยไม่ต้องมีกระแสไฟ้ฟ้าเข้าไปเลี้ยง ตรงข้ามกับชิป Flash Ram หรือ RAM ที่ใช้ในเครื่องคอมพิวเตอร์ หรือ วิทยุ ที่จำเป็นจำต้องใช้กระแสไฟฟ้าตลอดเวลา จะเห้นว่าหากปิดเครื่องคอมพิวเตอร์ หรือไฟดับคอมพิวเตอร์มาใหม่ งานที่ยังไม่ได้เซฟก็จะหายไปด้วย หาก เป็นวิทยุก็ต้องมาจุนหาสถานีกันใหม่อีก


8.4 หน่วยความจำสำหรับใช้กับกล้องดิจิตอล



รูปที่ 2 หน่วยความจำแบบ Smart Media
  8.4.1  Smart Media

                   martMedia Card เป็น Memory Card ที่คิดค้นมาตรฐานขึ้นมาโดย บริษัท โตชิบา  และถูกนำเสนอแก่สาธารณะชนอย่างเป็นทางการในปี ค.ศ.1995  โดยในสมัยนั้นได้ผลิตออกมาเพื่อแข่งขันกับ MiniCard หรือ Miniature Card, CompactFlash Card และ PC Card (PCMCIA Card) โดยตรง  ชื่อเริ่มแรกของ SmartMedia Card นั้นใช้ชื่อว่า SSFDC (Solid State Floppy Disk) ซึ่งราวกับว่าเป็นเทคโนโลยีที่สืบทอดมาจาก Floppy Disk ก็ว่าได้  โดยในปัจจุบัน SmartMedia Card นั้นได้ยกเลิกสายการผลิตไปแล้ว  เนื่องจากการใช้งานไม่แพร่หลายและมีเทคโนโลยีการ์ดหน่วยความจำแบบใหม่ๆ เข้ามาแทนที่ จะใช้พวกหน่วยความจำแบบ SD หรือ  xD แทน

                 8.4.2  Compact Flash (CF Card)
              CompactFlash Card หรือ CF Card ถูกพัฒนาและผลิตขึ้นครั้งแรกโดย บริษัท SanDisk ในปี ค.ศ.1994  ซึ่งสามารถแบ่งได้ 2 แบบหลักคือ Type I และ Type II  โดย Type I จะมีความหนาน้อยกว่า Type II เล็กน้อย  และอีกไม่นานก็จะมี Type III ผลิตออกมาด้วย  สำหรับความเร็วในการทำงานนั้น ก็มีตั้งแต่ความเร็วมาตรฐานเริ่มแรก, ความเร็วแบบ High Speed (CF+ หรือ CF2.0) และความเร็วตามมาตรฐาน CF3.0 ซึ่งถูกนำมาใช้ในปี ค.ศ.2005  และสำหรับสล็อตแบบ CF Type II นั้นสามารถนำหน่วยความจำแบบ Microdrive หรืออุปกรณ์อื่นๆ บางอย่างมาใส่ได้ด้วย
             จะมีความกว้าง 43 มิลลิเมตร, สูง 36 มิลลิเมตร และมีความหนาอยู่ 2 ระดับคือ 3.3 มิลลิเมตร (Type I) และ 5 มิลลิเมตร (Type II)  ซึ่ง CompactFlash Type I สามารถนำไปใส่ในสล็อตของ CompactFlash Type II ได้  แต่ CompactFlash Type II นั้นมีความหนามากกว่าเกินที่จะนำไปใส่ในสล็อตของ CompactFlash Type I ได้  ดังนั้นการ์ดหน่วยความจำประเภท Flash Memory จึงมักจะอ้างอิงกับความหนาของ CompactFlash Type I เป็นหลัก  ในยุคแรกๆ นั้นการ์ดหน่วยความจำแบบ SmartMedia Card ซึ่งเป็นคู่แข่งโดยตรงของ CompactFlash Card ในสมัยนั้น  ได้รับความนิยมแพร่หลายมากกว่า  แต่ในช่วงตั้งแต่ปี ค.ศ.2002-2005  ด้วยปัญหาและจุดอ่อนบางประการ  และมีการ์ดหน่วยความจำชนิดใหม่ๆ ที่ดีกว่าหลายชนิดถูกพัฒนาขึ้นมา  จึงทำให้ SmartMedia Card นั้นได้รับความนิยมน้อยลงมาก จนต้องยกเลิกสายการผลิตลงในที่สุด

               8.4.3 xD-Picture Card


              Card (Extra Digital) : เอ็กซ์ดีการ์ด เป็นหน่วยความจำสำหรับรองรับอุปกรณ์มัลติมีเดียที่ถูกพัฒนาขึ้นมาใหม่ล่าสุดโดยบริษัท Fuji และ Olympus ด้วยเหตุผล เพื่อมาลบข้อ จำกัดของหน่วยความจำสมาร์ทมีเดีย และเพื่อรองรับขนาดความจุได้สูงขึ้น อีกทั้ง ทำให้หน่วยความจำนี้มีขนาดที่เล็ก และบางกว่าหน่วยความจำทั้งหมดที่เคย มีมา ด้วยคุณสมบัติของหน่วยความจำชนิดนี้คือบันทึกและ อ่านด้วยความเร็วที่สูงจึงสามารถบันทึกข้อมูลได้ที่อัตรา ความเร็ว เมกกะไบท์ต่อวินาที

            8.5.4 multi Medai card (MMC)


         หน่วยความจำแบบ SD Card ในไม่ช้า  แต่ที่ยังคงมีการใช้งาน MMC Card กันอยู่จนถึงทุกวันนี้ก็เนื่องจาก MMC Card นั้นสามารถนำไปใช้กับอุปกรณ์ที่รองรับ SD Card ได้ด้วย  โดยอุปกรณ์ที่นำ MMC Card ไปใช้งานนั้นก็มักจะเป็นอุปกรณ์พกพาขนาดเล็กต่างๆ เช่น โทรศัพท์มือถือ, เครื่องพีดีเอ, เครื่องเล่นเพลง MP3 หรือกล้องดิจิตอล  ซึ่งในปัจจุบันขนาดความจุสูงสุดของ MMC Card ที่มีวางจำหน่ายทั่วไปแล้วนั้นจะอยู่ที่ 2GB เนื่องจากมีขนาดที่เล็กกว่า คือมีขนาด 24x16x1.5 มม.

            8.4.5 secure Digital card

            SD Card หรือเรียกชื่อเต็มๆ ว่า Secure Digital Card  นั้นนิยมนำมาใช้กับอุปกรณ์พกพาขนาดเล็กต่างๆ หลายประเภท  ไม่ว่าจะเป็น โทรศัพท์มือถือ, กล้องดิจิตอล หรือเครื่องพีดีเอ  โดยที่ SD Card นั้นพัฒนาขึ้นมาอยู่บนพื้นฐานของการ์ดหน่วยความจำแบบ MMC Card  โดยจะมีความกว้างและยาวเท่ากัน  นั่นคือมีความยาว 32 มิลลิเมตร และกว้าง 24 มิลลิเมตร  แต่จะมีความหนาที่มากกว่า MMC Card อยู่เล็กน้อย  นั่นคือมีความหนา 2.1 มิลลิเมตร  โดยทาง บริษัท Toshiba ได้เพิ่มความสามารถทางด้านฮาร์ดแวร์ที่ทำหน้าที่เข้ารหัสข้อมูลเข้าไปในเทคโนโลยีเดิมของ MMC Card  และยังใส่เทคนิคพิเศษที่เรียกว่า DRM (Digital Rights Management) ซึ่งเป็นตัวจัดการเกี่ยวกับเรื่องของลิขสิทธิ์ของข้อมูลมาให้  นอกจากนั้นที่ด้านข้างของ SD Card ยังมีสวิตช์ล็อคสำหรับป้องกันการเขียนข้อมูลทับเอาไว้ให้อีกด้วย   แต่อย่างไรก็ตาม SD Card ก็ยังมีข้อเสียเปรียบ MMC Card อยู่บ้าง เช่นเรื่องของการสูญเสียพื้นที่ข้อมูลไปโดยเปล่าประโยชน์  กล่าวคือในกรณีของ SD Card ในทุกๆ 64MB จะมีอัตราการสูญเสียพื้นที่ข้อมูลไปประมาณ 1.5MB  ในขณะที่ MMC Card ในทุกๆ 64MB จะมีอัตราการสูญเสียพื้นที่ข้อมูลไปเพียงประมาณ 0.5MB เท่านั้น  ซึ่งถือว่าต่างกันมากราวๆ 3 เท่าเลยทีเดียว

              8.4.6 Memory Stick


           เป็นเมมโมรี่การ์ดชนิดหนึ่ง ที่คิดค้นโดยบริษัท Sony  เดิมเป็นหน่วยความจำ/สื่อจัดเก็บข้อมูลที่ออกมารองรับอุปกรณ์มัลติมีเดียของ Sony โดยเฉพาะ ซึ่ง sony ได้ทำการพัฒนาออกมาหลายรุ่นด้วยกัน เช่น Memory Stick, Memory Stick Duo (มีระบบป้องกันข้อมูลในส่วนของ เป็นเมมโมรี่การ์ดชนิดหนึ่ง ที่คิดค้นโดยบริษัท Sony  เดิมเป็นหน่วยความจำ/สื่อจัดเก็บข้อมูลที่ออกมารองรับอุปกรณ์มัลติมีเดียของ Sony โดยเฉพาะ ซึ่ง sony ได้ทำการพัฒนาออกมาหลายรุ่นด้วยกัน เช่น Memory Stick, Memory Stick Duo (มีระบบป้องกันข้อมูลในส่วนของ Memory Stick MagicGate), Memory Stick with memory selection function Total 256 mb (128 mb x 2), Memory Stick Pro, Memory Stick Pro Duo (มีระบบป้องกันข้อมูลในส่วนของ Memory Stick MagicGate)  
           มีรูปร่างเป็นแท่งแบนยาวคล้ายหมากฝรั่ง มีขนาด 50 x 21.5 x 2.8 มิลลิเมตร สามารถจุข้อมูลได้มากถึงระดับกิกะไบต์ และมีความเร็วในการบันทึกและการถ่ายโอนข้อมูลที่สูงระดับ 1.3 MB ต่อวินาที ซึ่งสูงกว่าหน่วยความ SD card หรือ MMC card แบบธรรมดา  ช่วยให้การเขียนอ่านข้อมูลทำได้ด้วยความรวดเร็วยิ่งขึ้น แต่เมมโมรี่สติ๊กไม่ค่อยได้รับความนิยมในหมู่ผู้ใช้ทั่วไปเท่าใดนัก เนื่องจากราคาที่ค่อนข้างสูง ประกอบกับเป็นหน่วยความจำที่มักใช้ในอุปกรณ์มัลติมีเดียเฉพาะทางค่าย Sony เท่านั้น



8.5 แฟลชไดร์ฟ (flash Drive)


         Flash Drive (หรือที่หลายคนเรียก Handy Drive, Thumb Drive, USB Drive)
เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในการเก็บข้อมูลหรือไฟล์จากคอมพิวเตอร์ มีขนาดเล็กและน้ำหนักเบา สะดวกในการพกพาติดตัว แต่ในขณะเดียวกันมีความจุสูง สามารถเก็บข้อมูลได้จำนวนมากตั้งแต่ 2 GB ถึง 16 GB และขนาดความจุข้อมูลก็ได้รับการพัฒนาเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ



8.6 ประโยชน์ของแฟลชไดร์ฟ คือ

  • ความจุข้อมุลสุงตั้งแต่ 128 MD ถึง 2 GB
  • เก็บข้อมูลการติดต่อ เช่อ เบอร์โทรศัพท์ หรือ Addressbook เพื่อความสะดวกในการใช้งานทุกที
  • ใช้เก็บข้อมูลที่ดาวน์โหลด,ไฟล์งาน หรือโน๊ตข้อความ เวลาคุณใช้คอมพิวเตอร์ที่ Internet Cafe
  • ย้ายข้อมูลหรือไฟล์ ได้อย่างสะดวกง่ายดาย ระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ เครื่อง หรือระหว่าง
คอมพิวเตอร์กับ โน็ตบุ๊ค
  • ใช้เก็บรูปภาพจากกล้องดิจิตอล เพื่อนำไปโชว์เพื่อนๆ
  • ฟังเพลง MP3 ได้โดยตรงทุกที่ทุกเวลา (เฉพาะรุ่นที่มี MP3 Player)
  • ใช้เป็นฮาร์ดดิสส่วนตัว เก็บข้อมูลทุกอย่างในที่เดียว สำหรับพกพาไปใช้งานในที่ต่างๆ
  • เก็บข้อมูลสำคัญๆ แล้วป้องกันข้อมูลด้วยระบบ Password และการเข้ารหัสข้อมูล DATA Encryption
  • ใช้แบ็คอัพข้อมูลสำคัญๆ หรือไฟล์ต่างๆ
  • ใช้เก็บข้อความ E-mail ต่างๆ ที่สำคัญ
  • ใช้เก็บไฟล์งานชั่วคราว สำหรับเอาไว้ใช้งานหรือแก้ไขได้ทุกที่ (ที่บ้านที่ทำงาน,ร้านอินเตอร์เน็ต)
  • เพิ่มคุณสมบัติ และการใช้งานด้วย add-on Software เช่น โปรแกรม E-mail


 8.7 ปริ้นเตอร์ (Printer)


รูปที่ 3 ปริ้นเตอร์



เป็นอุปกรณ์ต่อพ่วงที่จะผลิตข้อความและ/หรือกราฟิกของเอกสารที่เก็บไว้ในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ออกมาในสื่อทางกายภาพเช่นกระดาษหรือแผ่นใส
เครื่องพิมพ์ส่วนมากเป็นอุปกรณ์ต่อพ่วงทั่วไปและเชื่อมต่อด้วยสายเคเบิลเครื่องพิมพ์หรือในเครื่องพิมพ์รุ่นใหม่จะเป็นสายยูเอสบี เครื่องพิมพ์บางชนิดที่เรียกกันว่าเครื่องพิมพ์เครือข่าย(Network Printer) อินเตอร์เฟซที่ใช้มักจะ เป็นลนไร้สายและ/หรืออิเทอร์เน็ เครื่องพิมพ์แบ่งออกเป็น 4 ประเภทได้แก่

8.7.1 เครื่องพิมพ์ดอตแมทริกซ์ (Dot Matri Printer)

เครื่องพิมพ์ดอตแมทริกซ์ (Dot-matrix printer) การทำงานของเครื่องพิมพ์ประเภทนี้คือจะใช้การสร้างจุดลงบนกระดาษ ซึ่งหัวพิมพ์จะมีลักษณะเป็นหัวเข็ม เมื่อต้องการพิมพ์รูปทรงหรือรูปภาพใดๆ หัวเข็มที่อยู่ในตำแหน่งตามรูปประกอบนั้นๆ จะยื่นออกมามากกว่าหัวอื่นๆ และกระแทกกับผ้าหมึกลงกระดาษที่ใช้พิมพ์ จะทำให้เกิดจุดมากมายประกอบกันเป็นรูปเกิดขึ้นมา เครื่องพิมพ์ประเภทนี้เป็นที่นิยมกันอย่างมากเพราะมีราคาถูกและคุณภาพเหมาะสมกับราคา แต่ข้อเสียคือเวลาสั่งพิมพ์จะเกิดเสียดังพอสมควร มีแต่การพิมพ์แบบขาว-ดำเท่านั้น และต้องใช้กระดาษเฉพาะสำหรับเครื่องพิมพ์แบบนี้เท่านั้น โดยตัวกระดาษจะมี3ชั้น ชั้นแรกเป็นหน้าที่จะพิมพ์ปกติ ชั้นที่2เป็นไส้ในที่เป็นกระดาษคาร์บอนสีดำ และชั้นสุดท้ายเป็นกระดาษปกติสำหรับใช้สำหรับสำเนาสิ่งที่พิมพ์ ซึ่งสำเนาจากการพิมพ์ด้วยกระดาษแบบนี่เรียกว่า สำเนาคาร์บอน ด้านข้างกระดาษจะมีรูเป็นแถวตามยาวไว้สำหรับล็อกเข้ากับเขี้ยวของเฟืองที่เป็นส่วนหนึ่งของกลไกการป้อนกระดาษ
8.7.2 เครื่องพิมพ์แบบพ่หมึก (Ink-Jet Printer)

เป็นเครื่องพิมพ์ที่ทำงานโดยการพ่นหมึกออกมาเป็นหยดเล็กๆ ลงบนกระดาษ เมื่อต้องการพิมพ์รูปทรงหรือรูปภาพใดๆ เครื่องพิมพ์จะทำการพ่นหมึกออกตามแต่ละจุดในตำแหน่งที่เครื่องประมวลผลไว้อย่างแม่นยำ ตามความต้องการของเรา ซึ่งเครื่องพิมพ์แบบพ่นหมึกจะมีคุณภาพดีกว่าเครื่องพิมพ์ดอตแมทริกซ์ โดยรูปที่มีความซับซ้อนมากๆเครื่องพิมพ์แบบพ่นหมึกจะได้ผลลัพธ์ที่ดีกว่า ชัดเจนและคมชัดกว่าแบบดอตแมทริกซ์
         8.7.3 เครื่องพิมพ์เลเซอร์

           เครื่องพิมพ์แบบหนึ่งที่ใช้ลำแสงเลเซอร์ในการสร้างภาพและถ่ายทอดลงสู่กระดาษด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ (ทำงานคล้ายเครื่องถ่ายเอกสาร) ความ เร็วของเครื่องพิมพ์เลเซอร์นั้นวัดกันเป็นหน้าต่อนาที (ppm) เช่น 10 หน้าต่อนาที เป็นต้น (เพราะพิมพ์ครั้งละหนึ่งหน้า) ส่วนคุณภาพของการพิมพ์นั้น วัดเป็นจุดต่อนิ้ว (dpi) เช่น 600 จุดต่อ 1 นิ้ว ยิ่งมีจุดมาก แสดงว่ามีความละเอียดมาก ภาพจะคมชัดกว่าภาพที่มีจุดน้อยหรือมีความละเอียดน้อย

 8.7.4 พล็อตเตอร์ (Plotter)  

พล็อตเตอร์ (Plotter) เป็นเครื่องพิมพ์แบบที่ใช้ปากกาในการเขียนข้อมูลลงบนกระดาษ ซึ่งเครื่องพิมพ์ประเภทนี้เหมาะกับงานเขียนแบบของวิศวกรและสถาปนิก และเครื่องพิมพ์ประเภทนี้มีราคาแพงที่สุดในเครื่องพิมพ์ประเภทต่างๆ


8.8 สแกนเนอร์ (Scanner)

รูป สแกนเนอร์
 คืออุปกรณ์จับภาพและเปลี่ยนแปลงภาพ จากรูปแบบของแอนาลอกเป็นดิจิตอล ซึ่งคอมพิวเตอร์ สามารถแสดง, เรียบเรียง, เก็บรักษาและผลิตออกมาได้ ภาพนั้นอาจจะเป็นรูปถ่าย, ข้อความ, ภาพวาด หรือแม้แต่วัตถุสามมิติ


8.9 การทำงานองสแกนเนอร์

สแกนเนอร์ มีหลักการทำงาน คือ เครื่องอ่านภาพ จะทำการอ่านภาพโดยอาศัยการสะท้อน หรือการส่องผ่านของแสง กับภาพต้นฉบับที่ทึบแสง หรือโปร่งแสง ให้ตกกระทบกับ แถบของอุปกรณ์ไวแสง (Photosensitive) ซึ่งมีชื่อในทางเทคนิคว่า Charge-Couple Device (CCD) ตัว CCD จะรับแสงดังกล่าวลงไปเก็บไว้ใน เส้นเล็กของเซล และจะแปลงคลื่นแสง ของแต่ละเซลเล็กๆ ให้กลายเป็นคลื่นความต่างศักย์ ซึ่งจะแตกต่างไปตามอัตราส่วน ของระดับความเข้มของแสงแต่ละจุด 

8.10 ภาพจากสแกนเนอร์

ภาพในคอมพิวเตอร์ จะอยู่ในรูปแบบดิจิตอล คอมพิวเตอร์แทนส่วนเล็ก ๆ ของภาพที่เรียกว่า พิกเซล (Pixels) ขนาดของไฟล์รูปภาพ จะประกอบด้วย จำนวนพิกเซลเป็นร้อยเป็นพัน คอมพิวเตอร์จะบันทึก ค่าความเข้ม และค่าสีของพิกเซลแต่ละพิกเซล ด้วยจำนวน 1 บิต หรือหลายๆ บิต จำนวนของพิกเซล จะเป็นตัวแสดงถึงความละเอียด และถ้ามีจำนวนบิตต่อพิกเซลมาก สีที่ได้ก็จะมากตามไปด้วย 
  
8.11 แดง เขียว น้ำเงิน (RGB)
การอ่านภาพสี CCD ของเครื่องอ่านภาพ จะมีการประมวลผล โดยอาศัยโครงสร้างของแม่สี 3 สี คือ แดง, เขียว และน้ำเงิน ในทางเทคนิคจะเรียกว่า RGB ในโครงสร้างสีแบบ RGB นี้แต่ละสีที่เกิดขึ้นจะประกอบด้วยแม่สีทั้ง 3 สีรวมอยู่ด้วยกันในค่าที่ต่างกันไป สีดำเกิดขึ้นจาก การไม่มีแสงสีขาว ในทำนองเดียวกัน สีขาวก็เกิดจากแสงแม่สีทั้ง 3 อยู่ในระดับสูงสุดเท่าๆ กัน (100 เปอร์เซ็นต์ของ RGB) และระดับแสงเท่าๆ กันของทั้ง 3 แม่สีจะเกิดแสงสีเทา (Gray Scale)

8.12 ชนิดของสแกนเนอร์

       สแกนเนอร์สามารถแบ่งออกได้เป็น 3 แบบหลักๆ คือ
       1.  สแกนเนอรืแบบสอดแผ่น เป็นประเภทที่ใช้งานมากที่สุดในปัจจุบัน ตัวเครื่องมีขนาดเล้กน้ำหนักเบาประมาณ 0.5-1.5 กิดลกรัม 
       2.  สแกนเนอร์มือถือ เป้ฯสแกนเนอร์ขนาดเล้กใช้มือถือสแกนเนอร์เลื่อนขึ้นลงไปตามภาพที่ต้องการแต่ในปัจจุบันไม่นิยมใช้งานแล้วเนื่องจากภาพที่ได้ไม่ค่อยละเอียด ส่วนมากนิยมสแกนภาพโลโก้ หรือภาพที่มีขนาดเล็ก ๆ
       3. สแกนเนอร์แผ่นเรียบ เป็นเครื่องสแกนเนอร์ขนาดใหญ่ประกอบด้วยกระจกเอาไว้สแกนเนอร์ภาพคล้ายกับเครื่องถ่ายเอกสาร ภาพที่คุณดี แต่ราคาค่อนข้างแพง

8.13 ปัจจัยในการเลือกซื้อสแกนเนอร์

   1. คุณสมบัติเฉพาะของสแกนเนอร์ ซึ่งได้แก่
       สีและโทนสี
       ช่วงไดนามิก
       ความเร็วในการสแกน
  2. การใช้วงานสแกนเนอร์ สามารถพิจารณาจาก
      ความสะดวกในการใช้งาน
      การติดตั้ง
      ปริมาณการในใช้งาน
 3. เงื่อนไขการรับประกัน
     ก่อนซื้อควรแน่ใจว่า ผู้ขายเครื่องสแกนเนอร์มีการรับประกันเครื่องซึ่งปัจจุบันมักจะมีการรับประกันประมาณ 1 ปี
 4. ความน่าเชื่อถือขิงบริษัทผู้จำหน่าย
     ควรแน่ใจว่า ผู้ขายเครื่องสแกนเนอร์ มีวิธีการให้สามารถอัพเกรดไดร์ฟเวอร์ได้สะดวก เช่น ดาวน์โหลดได้ฟรีผ่านททางเว็บ
 5. ราคา
    ราคาเป็นปัจจัยสำคัญในการเลือกซื้อสแกนเนอร์นอกจากองค์ประกอบทางด้านประสิทธิภาพการทำงานของสแกนเนอร์แล้ว เพราะราคาในการซื้อขึ้นอยุ่กับงบประมาณของผู้ใช้งาน

 สรุปท้ายบท  

            ปัจจุบันการพัฒนาทางด้านเทดโนโลยีนั้นเป็นไปอย่างรวดเร็ว อุปกรณ์ต่อพ่วงต่าง ๆ ก็ถูกคิดคันขึ้นมากมาย อุปกรณ์ต่อพ่วงทำให้ขอบเขตของการใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ขยายขว้างขึ้นอย่างรวดเร็วไม่ว่าจะเป็นด้าน สื่อบันทึกข้อมูลที่มีความจุสูงขึ้นกว่าอดีต เทคโนโลยีการบันทึกภาพ หรือไฟล์ข้อมูลก็ทำได้อย่างง่ายดาย ซึ่งทั้งทั้งนี้กาารจะใช้งานอุปกรณ์ต่อพ่วงได้อย่างมีประสิทธิภาพก็ขึ้นอยู่กับการเลือกใช้งานอุปกรณ์ให้เหมาะสม กับงานและประเถชภทของงานนั่นเอง

วันพฤหัสบดีที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

บทที่ 12 การติดตั้งโปรแกรม Multimedia

บทที่ 12 การติดตั้งโปรแกรม Multimedia
12.1 บทนำ
       โปรแกรม Multimedia ในปัจจุบันนับว่ามีความสำคัญไม่น้อยเลยทีเดียวเนื่องจากว่าคอมพิวเตอร์ในปัจจุบันสามารถตอบสนองความต้องการได้มากกว่าการพิมพ์งาน มีการนำคอมพิวเตอร์ไปใช้ในการดูภาพยนต์ ฟังเพลง หรือเล่นเกม เพื่อความบันเทิงกันมากขึ้น ในบทนี้จะแนะนำวิธีการติดตั้งโปรแกรม Winamp ซึ่งโปรแกรมสำหรับฟังเพลงรูปแบบMP3 และโปรแกรม Power DVD ซึ่งเป็นโปรแกรมสำหรับดูภาพยนตร์
2.2 การติดตั้ง Winamp โปรแกรมเล่นเพลง MP3
      Winamp เป็นโปรแกรมสำหรับเล่นเพลงแบบ MP3 และสามารถเล่นเพลงในรูปแบบอื่น ๆ ได้ด้ววย มีหน้ากากหรือ Skin สำหรับเปลี่ยนแปลงหน้าตาได้ นอกจากนี้ยังสามารถเล่นเพลงของ CD Audio ธรรมดาได้มีการปรับแต่งเสียง และอื่น ๆ อีกมากมาย ในบทนี้จะแนะนำวิธีการติดตั้งโปรแกรม Winamp Version 2.62 ซึ่งสามารถหา Download ได้จากhttp://www.winamp.com/ มาดูวิธีการติดตั้งกัน เริ่มจากทำการ Download มาเก็บไว้ก่อน แล้วเริ่มต้นการติดตั้ง โดยดับเบิ้ลคลิกที่ไฟล์ Setup ที่ดาวน์โหลดมาจะปรากฏหน้าต่างดังรูปที่ ให้กดที่ปุ่ม Next
รูปที่ แสดงการเริ่มติดตั้งโปรแกรม Winamp
       เมื่อกดปุ่ม Next แล้วจะปรากฏหน้าต่างดังรูปที่ เป็นการเลือกให้ Winamp สามารถทำงานกับไฟล์ต่าง ๆ ได้ให้กดที่ปุ่ม Next อีกครั้ง
รูปที่ แสดงการเลือกไฟล์ที่จะทำงานร่วมกับ Winamp
       จะปรากฏหน้าต่างดังรูปที่ เป็นการเลือกไดเรกทอรีที่จะติดตั้งโปรแกรม โดยโปรแกรมจะทำการเซ็กเนื้อที่ที่ว่างใน Harddisk และเนื้อที่ ๆ โปรแกรมต้องการให้กดปุ่มNext

รูปที่ แสดงหน้าต่างการเลือกไดเรกทอรีติดตั้งโปรแกรม
       โปรแกรมจะเริ่มต้นการติดตั้ง

รูปที่ แสดงการเริ่มติดตั้งโปรแกรม


       เมื่อติดตั้งไปซักพักโปรแกรมจะให้เลือกชนิดของการ Connect to the Internet ว่าท่านใช้แบบ LAN,Dial-Up หรือไม่มี Internet หรือถ้าหากจะใช้ Winamp เพื่อฟังเพลงจากเครื่องเราอย่างเดียวก็เลือก No Internet Connection Available แล้ว กด Next เพื่อทำการติดตั้งต่อไป

รูปที่ แสดงการเลือกการเชื่อมต่อกับ Internet หรือไม่


       เมื่อติดตั้งเสร็จแล้วจะแสดงหน้าต่างดังรูปที่ ให้กดที่ปุ่ม Run Winamp เพื่อเรียกโปรแกรม Winamp ขึ้นมา

รูปที่ แสดงการสิ้นสุดการติดตั้งโปรแกรม Winamp

          หน้าตาของโปรแกรม Winamp ก็จะแสดงขึ้นมาดังรูปที่ ส่วนในการติดตั้งโปรแกรม Winamp เวอร์ชันอื่น ๆ จะมีลักษณะคล้าย ๆ เรียกได้ว่าแทบจะเหมือนกันเลยที่เดียว


รูปที่ แสดงหน้าตาของโปรแกรม Winamp 
12.3 การติดตั้ง Power DVD โปรแกรมสำหรับดูภาพยนตร์

          โปรแกรม PowerDVD เป็น Software จาก http://www.cyberlink.com.tw ใช้สำหรับดูหนังจาก VCD หรือ DVD ก็ได้ ได้ยินชื่อแล้วก็ดูน่ากลัวดี แต่ความจริงแล้วโปรแกรมนี้ออกแบบมาให้สามารถใช้งานได้ง่ายมาก ๆ ทีเดียว มีลูกเล่นได้หลายอย่าง แนะนำให้ลองหามาใช้ดู
มาดูวิธีการติดตั้งกัน ดีกว่า เริ่มจากหา Download มาก่อน หลังจากที่ได้ Download มาแล้วให้ทำการ Unzip เก็บไว้ใน Folder ใหม่และเริ่มต้น setup โดยกดดับเบิลคลิกที่ไฟล์ setup


กดที่ Next เพื่อทำการติดตั้งต่อไป


กดที่ Yes เพื่อทำการติดตั้งต่อไป


กดที่ Next เพื่อทำการติดตั้งต่อไป


ใส่ชื่อและ CD-Key และกดที่ Next เพื่อทำการติดตั้งต่อไป


กดที่ Next เพื่อทำการติดตั้งต่อไป


กดที่ Next เพื่อทำการติดตั้งต่อไป



ยกเลิกการเลือกที่ช่อง Yes, I want to register now! ออกก่อนนะครับแล้วกด Finish 


กดที่ Yes เพื่อทำการติดตั้งต่อไป


กดที่ OK เป็นอันจบขั้นตอนการติดตั้ง พร้อมใช้งานได้ทันที
                                                          (http://www.l3nr.org/posts/57234)
สรุปท้ายบท 
           โปรแกรม Winamp เป็นโปรแกรม Multimedia ที่นิยมใช้กับไฟล์ประเภท MP3 ซึ่งข้อดีของ Winamp คือ โปรแกรมมีขนาดเล็ก สามารถดาวน์โหลดได้จาก Internet และสามารถปรับเปลี่ยนหน้าตาของโปรแกรม (Skin) ได้มากมายหลายแบบ

บทที่ 6 การ์ดแสดงผล (Display Card)

6.1   บทนำ

การ์ดแสดงผล (Display Card)
             หรือนิยมเรียกว่า "การ์ดจอ" มีหน้าที่เปลี่ยนสัญญาณดิจิตอล (Digital) ให้เป็นสัญญาณภาพ โดยมี Chip เป็นตัวหลักในการประมวลการแปลงสัญญาณ ส่วนภาพนั้น CPU เป็นผู้ประมวลผล แต่ปัจจุบันเทคโนโลยีการประมวลผลภาพนั้น VGA Card เป็นผู้ประมวลผลเองโดย Chip นั้นได้เปลี่ยนเป็น GPU (Graphic Processing Unit) ซึ่งจะมีการประมวลภาพในตัว Card เอง เทคโนโลยีนี้เแป็นที่แพร่หลายมากเนื่องจากราคาเริ่มปรับตัวต่ำลงมาจากเมื่อก่อนที่เทคโนโลยีเพิ่งเข้ามาใหม่ ๆ โดย GPU ค่ายเอ็นวิเดีย (NVIDIA) เป็นผู้ริเริ่มการตลาด
             หลักการทำงานพื้นฐานของการ์ดแสดงผลและเริ่มต้นขึ้น เมื่อโปรแกรมต่าง ๆ ส่งข้อมูลมาประมวลผลที่ซีพียูเมื่อซีพียูประมวลผลเสร็จแล้ว ก็จะส่งข้อมูลที่จะนำมาแสดงผลบนจอภาพมาที่การ์ดแสดงผล จากนั้น การ์ดแสดงผล ก็จะส่งข้อมูลนี้มาที่จอภาพ ตามข้อมูลที่ได้รับมา การ์ดแสดงผลรุ่นใหมา ๆ ที่ออกมาส่วนใหญ่ ก็จะมีวงจร ในการเร่งความเร็วการการแสดงผลภาพสามมิติและมีหน่วยความจำมาให้มากพอสมควร

รูปที่ 1 แสดงภาพการ์ดจอแบบ AGP



6.2   ชนิดของการ์ดแสดงผล

              การ์ดแสดงผลเป็นตัวแปรหนึ่งสำหรับการเลือกซื้อพีซี การ์ดแสดงผลทำให้ขึดความสามารถบางอย่างของเครื่องคอมพิวเตอร์แตกต่างกันออกไป โดยเฉพาะหากต้องการเล่นเกม และเป็นเกมที่เน้นการแสดงผลแบบ 3D การ์ดแสดงผลจะมีผลอย่างมาก
              ชนิดของการ์ดแสดงผลมีหลายแบบตามเทคโนโลยีที่พัฒนา และเมื่อมีเทคโนโลยีที่ดีขึ้น ของเก่าก็ล้าสมัยและในที่สุดก็ไม่มีผู้ผลิต ชนิดของการ์ดมัดังนี้
             การ์ดวีจีเอ (VGA) เป็นการ์ดรุ่นแรกที่ทำตามมาตรฐาน VGA มีการเชื่อมต่อเข้าสู่ระบบทาง ISA การแสดงผลจึงเป็นการแสดงผลที่มีข้อจำกัดในเรื่องการส่งรับข้อมูลจำนวนมาก ปัจจุบันไม่มีจำหน่ายแล้ว แต่จะมีใช้ในพีซีรุ่นเก่า
             การ์ดซูเปอร์วีจีเอ (Super VGA) เป็นการ์ดที่ผลิตตามมาตรฐานของ VESA-Video Electronic Standard Association ซึ่งเป็นสมาคมที่จัดตั้งขึ้นมาวางมาตรฐานกลางการแสดงผลเพื่อให้มีความเข้ากันได้ โดยเฉพาะเมื่อผลิตและพัฒนามาจากหลากหลายบริษัท การ์ดวิดีโอที่ใช้กันในรุ่นแรกก็เป็นไปตาม VESA นี้
             การ์ดที่ใช้ตัวเร่งกราฟิกส์ (Graphic Accelerator) เป็นการ์ดที่พัฒนามาจากบริษัทชั้นนำทางด้านการผลิตการ์ดวิดีโอนี้ มีการพัฒนาซีพียูแบบ co-processor ใช้บนบอร์ด เพื่อเพิ่มความเร็วการแสดงผลกราฟิกส์ การ์ดตัวเร่งกราฟิกส์นี้ ทำงานได้ดีกับคำสั่งพิเศษที่เขียนภาพแบบ 2D และเป็นภาพที่แสดงผลด้วยความละเอียดสูง
             การ์ดตัวเร่ง 3D บริษัทชั้นนำหลายบริษัทได้พัฒนาเทคโนโลยีขึ้นใช้โดยเน้นการแสดงภาพสามมิติ ซึ่งมีคำสั่งสนับสนุนการทำงานแบบภาพสามมิติ การ์ดแสดงผลแบบนี้จึงต้องทำงานด้วยความเร็วสูง และก็มีราคาแพงขึ้น เช่น การ์ด GeForce, Voodoo เป็นต้น
             ซิปที่ใช้ในการเร่งภาพ และการเชื่อมต่อแบบ AGP ความจริงแล้วผู้ผลิตซีพียู (ทั้งอินเทล และเอเอ็มดี) ได้ใสชุดคำสั่งในการประมวลผลกราฟิก เพื่อให้ซีพียูคำนวณผลได้เร็วขึ้น อินเทลกำหนดฟังก์ชันการคำนวณผลกราฟิกไว้ในชุดคำสั่ง MMX ส่วนเอเอ็มดีใส่ชุดคำสั่งพิเศษไว้ที่ 3D NOW การเพิ่มคำสั่งพิเศษนี้ทำให้การแสดงผลกราฟิก เช่น การเล่นเกมทำได้เร็วขึ้น แต่ถึงจะมีชุดคำสั่งที่ซีพียูทำงานแล้วก็ยังเพิ่มความเร็วได้ไม่เท่าที่ต้องการ เพราะซีพียูอาจต้องทำงานอื่นอีก ผู้ผลิตการ์ดเชื่อมต่อการแสดงผลจึงได้พัฒนาซิปประกอบที่เป็นโคโปรเซสเซอร์ หรือเป็นซีพียูร่วม โดยเน้นการประมวลผลภาพ และกราฟิก ทั้งแบบ 2D และ 3D โดยเฉพาะ ชิปเฉพาะนี้จึงมีชื่อเรียกว่า Graphic Coprocessor
             ตัวเร่งกราฟิกจึงเป็นหัวใจสำคัญในการสร้างภาพแบบ 3D และการแสดงภาพแบบเคลื่อนไหว เช่น วีดีโอ การประมวลผลนี้ต้องใช้ความเร็วสูง ดังนั้น การ์ดเชื่อมต่อการแสดงผลรุ่นใหม่จึงต้องมีระบบระบายความร้อนให้กับชิปตัวเร่งกราฟืกนี้ด้วย และเพื่อให้ซีพียูติดต่อกับหน่วยความจำและตัวเร่งกราฟิกได้ดี จึงต้องสร้างระบบพอร์ตเชื่อมต่อใหม่ และให้ชื่อช่องทางเชื่อมโยงสำหรับการ์ดแสดงผลว่า AGP ในซีพียูรุ่นใหม่ทุกเครื่องจึงใช้เส้นทางการเชื่อมต่อกับการ์ดแสดงผลแบบ AGP



6.3   หน่วยความจำบนการ์ดแสดงผลกับความละเอียดของการแสดงผล

             การ์ดแสดงผลจะต้องมีหน่วยความจำที่เพียงพอในการใช้งาน เพื่อใช้สำหรับเก็บข้อมูลที่ได้รับมาจากซีพียู และสำหรับการ์ดแสดงผลบางรุ่น ก็สามารถประมวลผลได้ภายในตัวการ์ด โดยทำหน้าที่ในการประมวลผลภาพแทนซีพียูไปเรลย ช่วยให้ซีพียูมีเวลาว่างมากขึ้นทำงานได้รวดเร็วขึ้น
             เมื่อได้รับข้อมูลจากซีพียูมา ดาร์ดแสดงผลก็จะเก็บข้อมูลที่ได้รับมาเก็บไว้ในหน่วยความจำส่วนนี้นี่เอง ถ้าการ์ดแสดงผล มีหน่วยความจำมาก ๆ ก็จะรับข้อมูลมาจากซีพียูได้มากขึ้น ช่วยให้การแสดงผลบนจอภาพมีความเร็วสูงขึ้น และหน่วยความจำทีมีความเร็วสูงก็ยิ่งดี เพราะจะสามารถรับ-ส่งข้อมูลได้เร็วขึ้น ยิ่งถ้าข้อมูลที่มาจากซีพียู มีขนาดใหญ่ ก็ยิ่งต้องใช้หน่วยความจำที่มีขนาดใหญ่ ๆ นั่นก็คือข้อมูงของภาพที่มีสีและความละเอียดของภาพสูง ๆ
             พัฒนาการของการ์ดแสดงผลไม่ได้ทำให้การแสดงผลด้วยความเร็วอย่างเดียว แต่จะต้องเพิ่มความละเอียดและจำนวนสีของการแสดงผลด้วยความละเอียดและจำนวนสีจะมีผลโดยตรงต่อหน่วยความจำที่ใช้ในการแสดงผลทั้งนี้เพราะแต่ละจุดที่แสดงผลคือข้อมูลที่เก็บในหน่าวยความจำ
              ความละเอียดของการแสดงผลวัดเป็นจำนวนจุดสี ซึ่งหมายถึงการแสดงผลทั้งจอภาพได้เท่าใด เช่น 640 x 480 หมายถึง มีจุดภาพตามแนวนอน 640 จุดสี และแนวตั้ง 480 จุดสี แต่ละจุดสียังแสดงสีได้ด้วยความละเอียดของจำนวนสีอีก ดังนั้นหากต้องการแสดงเดียวของความละเอียด 640 x 480 ก็ต้องมีจำนวนจุดสีถึง 307200 ซึ่งถ้าแสดงผลเฉพาะทั้งคำก็ต้องใช้ข้อมูล 307200 บิต หรือ 38400 ไบต์ นั่นเอง


ตารางที่ 1 มาตรฐานการแสดงผลและหน่วยความจำแสดงผล

















              จากตารางที่แสดงนี้ หมายถึง ข้อมูลภาพหนึ่งภาพต้องใช้ข้อมูลเท่าไร แต่ในการ์ดแสดงผลจำเป็นต้องมีบัฟเฟอร์ใช้ในการแสดงผลอย่างน้อย 2 ภาพ และจะต้องมีพื้นที่ในการใช้เป็นที่คำนวณและประมวลผลภาพอีกต่างหาก ดังนั้นการ์ดแสดงผลในปัจจุบัน (2548) จึงมีหน่วยความจำสูงมาก โดยมีขนาดของหน่วยความจำในช่วงขนาด 32 MB ถึง 256 MB

6.4   การเลือกซื้อการ์ดแสดงผล

             ในการเลือกซื้อการ์ดแสดงผลคงต้องประเมินดูสภาพการใช้งานว่ามีลักษณะเป้นเช่นไร โดยอาจแบ่งแยกงานเป็นสองกลุ่มคือ งานประเภทต้องใช้ภาพสามมิติ หรือการแสดงผลมัลติมิเดีย การตัดต่อวีดีโอกับอีกกลุ่มได้แก่ การใช้งานทั่วไปในสำนักงานใช้เพื่อเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต
              การ์ดที่ใช้แสดงผลสามมิติ (3D) และเล่นเกมแบบสามมิติต้องใช้ชิปตัวเร่งพิเศษ การ์ดพวกนี้จะมีราคาแพงขึ้น เช่น การ์ดที่ใช้ชิป GeForce 2, GeForce 3, Voodoo ส่วนชิปตัวเร่ง 3D ที่มีผู้ผลิตอีกหลายราย เช่น TNT, Banshee, Savage
              สำหรับการเลือกการ์ดแสดงผลใช้งานทั่วไปก็เลือตัวเร่งที่มีราคาถูกลง ซึ่งปัจจุบันมีให้เลือกได้มากโดยปกติก็ใช้ชิปตัวเร่ง รุ่นเดียวกับพวก 3D เกมได้ แต่การ์ดพวกนี้จะใช้ความเร็วสัญญาณนาฬิกาและหน่วยความจำน้อยกว่า ทำให้มีราคาแตกต่างกันมาก
               การ์ดแสดงผลหลายรุ่นมีขีดความสามารถพิเศษ เช่น มีส่วนของการเชื่อมต่อเป็น TV-out เพื่อใช้สำหรับแสดงผล VCD และ DVD เพื่อให้ติดต่อกับ TV ได้โดยตรง โดยคอมพิวเตอร์จะทำตัวเป็นเครื่องเล่น DVD ได้

6.5    จอภาพ (Monitor)

              จอภาพเป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในการแสดงผล ซึ่งการเลือกจอภาพให้เหมาะกับประเภทของการ์ดก็จะทำให้การแสดงผลที่ได้รับนั้นมีประสิทธิภาพมาก
รูปที่ 2 แสดงจอภาพแบบ  LCD


6.6    ชนิดของจอภาพ

             สามารถแบ่งชนิดจอภาพออกได้เป็น 2 ชนิดคือ 
             1.  จอภาพแบบซีอาร์ที (CRT)
             2.  จอภาพแบบแอลซีดี (LCD)

           6.6.1  จอภาพแบบซีอาร์ที

             การแสดงผลจากการ์ดแสดงผลต่อเชื่อมสัญญาณมาที่จอภาพ ดังนั้นจึงควรที่จะต้องทำความรู้จักกับเทคโนโลยีที่เกี่ยวกับจอภาพด้วย จอภาพแบบซีอาร์ทียังเป็นจอที่มีการใช้งานกันมาก เพราะมีราคาถูกเมื่อเทียบกับจอภาพที่ใช้เทคโนโลยีแบบอื่น เช่น แอลซีดี คุณลักษณะจอภาพแสดงผลที่น่าสนใจประกอบด้วย
รูปที่ 3 แสดงจอภาพแบบซีอาร์ที
             หลอดภาพ หลอดภาพเป็นหลอดแก้วขนาดใหญ่ ภายในฉาบสารเรืองแสงที่เมื่อลำแสงอิเล็กตรอนตกกระทบจะมีแสงเรืองตามสีปรากฎให้เห็น ดังนั้นในหลอดภาพจึงมีส่วนของปืนอิเล็กตรอน ซึ่งมีสามลำแสงตามสีที่ต้องการให้แสดงผลคือ สีแดง เขียว และฟ้า การที่อิเล็กตรอนวิ่งมาชนจอภาพได้ต้องใช้แรงดันไฟฟ้าเหนี่ยวนำสูงมาก โดยทั่วไปจะมีค่าสูงกว่า 20,000 โวลต์
             จอแบนหรือจอโค้ง อิเล็กตรอนต้องวาดเรียงเป็นเส้นตามแบนราบ
 ดังนั้นการบังคับจุดโฟกัสของอิเล็กตรอนให้มาที่หน้าจอเพื่อจะได้จุดสีจุดเล็ก ๆ จึงจำเป็นต้องให้จอมีส่วนโค้งเล็กน้อย แต่ด้วยเทคโนโลยัของการควบคุมลำแสงอิเล็กตรอนที่ดีขึ้น กับการขยายส่วนลึกของตัวจอภาพให้มากขึ้นจึงทำให้หน้าจอแสดงผลแบนราบได้มากขึ้นจอแสดงผลแบบแบนจะให้สัดส่วนของภาพที่ปรากฎบนจอภาพได้ดีกว่า และเป็นที่นิยมในปัจจุบัน แต่ก็มีราคาเพิ่มขึ้น

          6.6.2  จอภาพแบบแอลซีดี

             เทคโนโลยีการแสดงผลด้วยแอลซีดีกำลังเป็นดาวรุ่ง แอลซีดีย่อมาจาก Liquid Crystal Display เป็นเทคโนโลยีที่ไม่ต้องใช้ลำแสงอิเล็กตรอน แต่ใช้การแสดงผลจากลำแสงที่สะท้อนผ่านผลึกเหลว แอลซีดีได้รับการพัฒนามามีสองแนวทางคือ แบบ Passive Matrix และแบบ Active Matrix สำหรับแบบ Passive มีจุดเด่นในเรื่องความเข้มของแสงที่มองเห็น และมุมมอง ปัจจุบันจึงนิยมหันมาทางด้าน Active Matrix แอกทีฟ แมทริกซ์ เป็นเทคโนโลยีที่ต้องใช้ทรานซิสเตอร์บนแผ่นฟิล์มบาง (Thin Film Transistor - TFT) กล่าวคือ ต้องสร้างอเรย์ของทรานซิสเตอร์โดยทุก ๆ จุดแสดงผลจะมีทรานซิสเตอร์แสดงผลตัวเล็ก ๆ ควบคุมอยู่ ทรานซิสเตอร์จะทำหน้าที่ควบคุมการแสดงผลในจุดนั้น ๆ ด้วยการทำงานของทรานซิสเตอร์ในการควบคุมการแสดงผล จึงทำให้การแสดงผลบนจอแอลซีดีทำงานได้รวดเร็ว และมีความคมชัด
             การสร้าง TFT ร่วมกับ LCD เป็นเทคโนโลยีที่มีกรรมวิธีที่ยุ่งยากและซับซ้อน ทำให้ขนาดของจอภาพที่ได้มีผลผลิตต่อการลงทุนยังสูง เพราะการที่จะทำให้ทรานซิสเตอร์บนแผ่นฟิล์มบาง ๆ ทำงานร่วมกันเป็นหลายแสนตัว โดยไม่เกิดการผิดพลาดเลยแม้แต่ตัวเดียว จึงเป็นเรื่องใหญ่ ราคาของแอลซีดีจึงมีราคาสูงเมื่อเทียบกับจอภาพซีอาร์ที
             แต่ในปัจจุบันกระบวนการผลิตจอภาพแอลซีดีได้รุดหน้าไปมาก ราคาของจอภาพแอลซีดีขนาด 15 นิ้ว และแสดงผลได้ด้วยความละเอียด 1024 x 768 ด้วยความเร็วการรีเฟรชจอภาพ 75 ครั้งต่อวินาที มีราคาลดลงจนอยู่ในวิสัยที่ซื้อหามาใชได้แล้ว
             จุดเด่นของจอแอลซีดีอยู่ที่การใช้กำลังไฟฟ้าต่ำ ใช้พื้นที่ติดตั้งจอภาพน้อย จึงเหมาะกับสภาพที่ ๆ คับแคบและต้องการจอแสดงผลคุณภาพดี



รูปที่  4 แสดงการวัดขนาดหน้าจอ

6.7    สัดส่วนของจอภาพ

          ขนาดของจอภาพวัดกับด้วยเส้นทแยงมุม โดยขนาดที่ทีความนิยมและผู้ผลิตได้ผลิตออกจำหน่ายมีหลายขนาดตั้งแต่ 14 นิ้ว  15 นิ้ว  17 นิ้ว และ  21 นิ้ว  อย่างไรก็ดีการแสดงผลบนจอภาพที่ปรากฎให้เห้นเมื่อวัดตามเส้นทแยงมุมจะน้อยกว่าตัวเลขบอกขนาดโดยปกติขนาดของจอซีอาร์ทีขนาดต่าง ๆ 



6.8    ขนาดของจุด (dot pitch)

         ความละเอียดของการแสดงผลขึ้นกับการแสดงภาพแต่ละจุดว่ามีขนาดเล็กเพียงไร ลองคำนวณดูอย่างง่าย ๆ ว่า ถ้าให้แนวราบแสดงผลได้ 720 จุด หากจอที่แสดงมีขนาดประมาณ 240 มิลลิเมตร ความเล้กของแต่ละจุดต้องเล็กกว่า 240 หาร 720 หรือประมาณ  0.33 มิลลิเมตร ยิ่งถ้าต้องการแสดงความละเอียดให้มากขึ้น ความละเอียดหรือความเล็กของจุด (dot pitch) จะต้องเล็กลง ขนาดของจุด  (dot pitch) นี้ กำหนดในสเปกของจอภาพ ซึ่งปัจจุบันมีค่าที่ประมาณ 0.24 มิลลิเมตร



6.9    การพิจารณาเลือกซื้อจอภาพ

         การเลือกซื้อจอภาพเกี่ยวข้องโดยตรงกับงบประมารที่จะจัดซื้อ โดยถ้ามีงบมาก การเลือกซื้อจอแอลซีดีก็จะเป็นไปได้ แต่ถ้าต้องการจอภาพแบบซีอาร์ที และเป็นจอแบนราบที่มีขนาดใหญ่ เช่น 17-19 นิ้ว ก็จะมีราคาสูงขึ้น
             ข้อพิจารณาขนาดของจอจึงขึ้นกับสภาพของงานที่ใช้ ถ้าใช้ิมพ์งาน ใช้อินเทอร์เน็ต อ่านอีเมล์ ก็ใช้จอ 15 นิ้ว ก็พอ แต่หากต้องใช้งานแสดงผลกราฟิกความละเอียดสูงก็ต้องใช้จอภาพขนาด 17-19 นิ้ว ถ้าเป็นจอขนาด 17 นิ้ว ควรเลือกรุ่นที่สนับสนุนการแสดงผลความละเอียดสูงสุดคือ 1600 x 1200 จุด โดยมีอัตราการรีเฟรชอยู่ที่ 75 Hz
             โดยปกติต้องพิจารณาดูว่า จอภาพที่ต้องการระหว่างจอภาพที่แบนราบกับจอโค้ง มีความต้องการอย่างไร จอแบนราบจะให้สัดส่วนของภาพได้ดีกว่า การดูจะสบายตา และเป็นจอที่น่าใช้มาก แต่ราคาก้จะสูงขึ้น จอภาพที่เลือกซื้อบางจอมีคุณสมบัติพิเศษที่เชื่อมต่อ USB กับจอภาพได้ ก็จะช่วยเพิ่มพอร์ต USB ให้ใช้งานได้มากขึ้นหรือสะดวกขึ้น
              จอภาพบางรุ่นมีลำโพงในตัว แต่โดยทั่วไปแล้วไม่จำเป็น เพราะการต่อลำโพลภายนอกจะมีความคล่องตัวกว่า และสามารถเลือกหาลำโพงที่มีคุณภาพดีมาใช้ได้ดีกว่าลำโพงที่ติดอยู่จอมอนิเตอร์



สรุปท้ายบท

          ปัจจุบันเทคโนโลยีของการ์ดแสดงผลสามารถให้ความละเอียดในรูปแบบสามมิติ (3D) ได้แทบทั้งสิ้น เนื่องจากการใช้งานในรูปแบบมัลติมิเดียในปัจจุบันมีความก้าวหน้าขึ้นมาก ไม่ว่าจะเป็นกมหรือภาพยนต์ จำเป็นต้องพึ่งพาความสามารถของการ์ดแสดงผลเป็นส่วนใหญ่ การ์ดแสดงผลภาพในปัจจุบันนี้มีราคาตั้งแต่หลักร้อยไปจนถึงหลักแสนบาทก็มี ยิ่งการ์ดแสดงผลที่มีคุณภาพดี ภาพที่ได้ออกมาก็จะมีคุณภาพดีเช่นกัน 
              จอภาพที่ใช้านกันอยู่ในปัจจุบันเป็นจอชนิดซีอาร์ที หรือจอแบบอ้วน ภาพที่ได้ออกมามีคุณภาพพอใช้ได้ในระดับหนึ่ง ซึ่งถ้าเปรียบเทียบกับจอภาพแอลซีดี จะเห็นความแตกต่างของภาพได้ชัดเจนมาก จอแอลซีดีมีคุณภาพดีกว่า แต่ก็มีข้อเสียคือราคาแพง และอะไหล่ ชิ้นส่วนต่าง ๆ ของจอประเภทนี้ไม่ค่อยแพร่หลายเวลาเสียก็ซ่อมยาก